จะเกิดขึ้นในกรณีที่ฟันซี่นั้นไม่สามารถรักษาไว้ได้อีกต่อไป ทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอนและใส่ฟันใหม่ทดแทน ซึ่งจะเป็นวิธีสุดท้ายที่ทันตแพทย์จะแนะนำ เหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องทำการถอนฟัน คือ
• มีอาการฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
• มีปัญหาโรคเหงือกอย่างรุนแรง (gum disease)
• ฟันหักแบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้
• มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการขึ้นของฟันซึ่งทันตแพทย์เห็นสมควรที่จะถอน เช่นปัญหาฟันคุด
• เพื่อเป็นการเตรียมก่อนเข้ารับการจัดฟัน
ผ่าฟันคุด
ฟันคุด คือ ฟันกรามซี่สุดท้ายของฟันแท้ ที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะขึ้นเพียงบางส่วน หรือขึ้นไม่ได้เลยทั้งซี่ เป็นเหตุให้ฟันฝังตัวในกระดูกขากรรไกรในท่าต่างๆกัน เช่น ตะแคงบ้าง เอียงบ้าง ส่วนมากจะออกมาในช่วงอายุระหว่าง 18-20 ปี หลายคนที่ไปพบทันตแพทย์ และตรวจพบว่ามีฟันคุด ทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอนหรือผ่าออก แม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงออกก็ตาม เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ฟันก็ไม่สามารถขึ้นได้ อาจทำให้เกิดสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
• คราบหินปูนและแบคทีเรียบนฟันสะสมที่ซอกเหงือก
• ฟันซี่ข้างๆ เกิดการผุได้ง่ายเนื่องจากการทำความสะอาดที่ลำบาก
• การเกิดต่อมน้ำหรือก้อนซีสในเหงือก
• อาจก่อให้เกิดอาการ ปวด บวม อักเสบติดเชื้อ
• โรคเหงือกและขากรรไกร
อาการต่างๆ ที่เกิดจากการที่ฟันคุดเริ่มงอกออกจากเหงือก
• อาการปวดบริเวณเหงือก
• เกิดการอักเสบติดเชื้อ
• อาการบวมที่หน้า
• อาการเหงือกบวมบริเวณแผลที่ผ่า
การเข้ารับผ่าตัดตั้งแต่ระยะแรกนั้นช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง
คำแนะนำและข้อปฏิบัติหลังการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด
• ประคบด้วยถุงเย็นประมาณ 30 นาทีทันทีหลังการผ่าตัด
• ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อห้ามเลือด และควรเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่หลังจากนั้นจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
• ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากภายใน 6 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
• ไม่ควรบ้วนน้ำภายใน 12 ชั่วโมงหลังการถอน
• สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผล
• ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ และรสไม่จัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
• หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• อาการปวดหลังการถอนสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่สั่งโดยทันตแพทย์